ข่าววันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2544

หมออลงกรณ์เตือน พวกเปิบเนื้อหมา ระวังเจอโรคติดต่อ

    ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า นายสัตวแพทย์ชิษณุ ติยะเจริญศรี
    รองเลขา ธิการป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกิจการค้าขายเนื้อสุนัขว่า
    ในไทย เอง ก็ไม่น้อยหน้า โดยที่ทำเป็นล่ำเป็นสันคือที่ท่าแร่ จ.สกลนคร เรียกได้ว่าเป็น
    อุตสาหกรรม ขนาด ย่อมภายในครัวเรือนก็ว่าได้ คือนอกจากจะส่งเนื้อและหนังแล้ว เครื่อง
    ในของสุนัขเหล่านี้ ที่ บริเวณช่องท้องซึ่งมีพังพืด จะเป็นแหล่งสะสมไขมันของร่างกายสุนัข
    ชาวบ้าน ก็จะนำมาเจียว เป็นน้ำมันขายเป็นปี๊บๆ ส่วนแหล่งที่ส่งไปนั้น เดิมจะส่งมาขายที่
    กรุงเทพฯ แต่ปรากฏว ่า ตลาด กรุงเทพฯไม่รุ่ง เพราะส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันพืชมากกว่า
    จึงหันไปสู่ตลาดที่ประเทศเพื่อนบ้านแทน ซึ่งทำรายได้อย่างงามให้กับคนในชุมชน
    จากการคำนวณแล้ว หนึ่งชุมชนได้วันละ 50,000 บาท เพราะฆ่าสุนัข วันละ 200-300 ตัว

    นอกจากนี้ นายสัตวแพทย์ชิษณุยังยืนยันว่า จากการติดตามกิจการค้าขายเนื้อสุนัข ทำให้
    พบว่าเนื้อสุนัขเหล่านี้เข้ามาถึงตลาดในเมืองกรุงแล้ว ซึ่งเป็นตลาดที่รองรับใหญ่ที่สุด
    โดยจะมาในรูปของเนื้อแดดเดียว ส่วนแหล่งที่รับ นอกจากจะมีที่จตุจักรแล้ว ยังมีส่งมาที่
    ห้าง สรรพสินค้าใจกลางเมืองหลวงอีกด้วย เหตุที่ทราบก็เพราะได้สอบถามจากผู้ค้าในท้อง
    ถิ่น และ ตามมาตรวจสอบที่กรุงเทพฯด้วย ซึ่งพบว่าเป็นจริงตามนั้น เนื่องจากราคา
    เนื้อแดดเดียว ที่ขาย นั้นมีราคาถูกเกินกว่าที่เป็นเนื้อวัว

    "ช่วงแรกๆที่ไปสำรวจยังเอาหัวสุนัขมาพาดเขียงขาย แต่ตอนนี้พอเห็นว่าสังคม ต่อต้านก็
    เลย ไม่ทำ เนื้อสุนัขส่วนใหญ่เขาไม่กล้ามาวางขายเป็นชิ้นเนื้อใหญ่ๆให้เห็นหรอก
    เพราะถ้าทำ อย่างนั้นคนก็จะรู้ว่าเป็นเนื้อสุนัข ดังนั้น ก็เลยเอามาแปรรูปก่อนเป็นเนื้อแดด
    เดียวแทน อย่างเนื้อวัวถ้าทำเป็นแดดเดียวน่าจะขายกิโลกรัมละ 300 กว่าบาท แต่ที่เราไป
    สำรวจในห้าง ปรากฏว่าขายแค่กิโลกรัมละ 100-200 บาทเท่านั้น เห็นได้ชัดเลยว่ามันน่า
    สงสัย ทำไมราคา มันถูกต่างกันเกินครึ่งขนาดนี้" นายสัตวแพทย์ชิษณุกล่าว

    รองเลขาธิการป้องกันการทารุณสัตว์ฯยังกล่าวถึงเส้นทางการหาสุนัขป้อนเขียงว่า ขณะนี้
    สุนัขที่ จ.สกลนคร และพื้นที่ภาคอีสานหายากมาก การที่จะได้สุนัขมาฆ่าวันละ 200-300
    ตัว จะมีการนำรถกระบะตระเวนไปทั่วประเทศ หลายจังหวัด ตั้งแต่เหนือจดใต้ พร้อมทั้งมี
    การแบ่งสาย เพื่อไม่ให้เส้นทางทับกัน ส่วนวิธีการนั้น บางทีคนรับซื้อจะใช้สิ่งของไปแลก
    เช่น หากสุนัขตัวใหญ่จะแลกด้วยกะละมัง หากตัวเล็กหน่อยก็แลก ด้วยขันน้ำ ซึ่งราคา
    กะละมัง แค่ใบละ 50 บาทเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ แต่กำไรงาม ซึ่ง
    นาย สัตว- แพทย์พิษณุบอก ว่า เป็นเรื่องยากที่จะห้ามไม่ให้กินเนื้อสุนัข หรือขายเนื้อสุนัข

    ขณะที่นายแพทย์อลงกรณ์ มหรรณพ นายสัตวแพทย์ สำนักพระราชวัง เปิดเผยถึงการ
    นิยม บริโภคเนื้อสุนัขว่า ชาวจีนนิยมกินเนื้อสุนัขจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ตามภัตตาคาร
    ต่างๆ เมนู เนื้อสุนัขจะมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป ส่วนสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด ที่มีราคา
    ค่อนข้างสูง หากนำเนื้อ มาทำขายก็คงจะมีราคาแพงมาก ส่วนในเมืองไทยก็คงหนีไม่พ้นที่
    ต.ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่มีหน้าที่
    โดยตรง น่าจะไปตรวจสอบดูบ้าง เพราะจริงอยู่ว่าการบริโภคสุนัขก็เหมือนการกินโปรตีน
    จากเนื้อสัตว์ทั่วไป แต่หากสุนัข มีความ สกปรก ก็มีโอกาสเสี่ยงจากโรคติดต่อสูง ไม่ว่าจะ
    เป็นโรคพยาธิเม็ดสาคู โรคพยาธิตัวกลม โรคแอนแทรกซ์ วัณโรค โรคทางเดินอาหาร
    อักเสบ เช่น ซัลโมเนลโลซิส ที่จะส่งผล ให้เกิด อาการ ท้องร่วง