THAI RIDGE BACK DOG

English

ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย

การใช้ประโยชน์:  สุนัขล่าสัตว์

มาตรฐาน ตีพิมพ์อย่างเป็นทาง
การครั้งแรกเมื่อ : 
7 ก.ค. 2536

การจัดหมู่ของ FCI:  กลุ่ม 5 ประเภทสปิตซ์และพันธุ์ดั้งเดิม
หมู่ 7  ประเภทดั้งเดิมขสุนัขล่า
สัตว์ไม่มีการทดสอบการทำงาน

ปัจจุบัน Thai Kennel จัดให้
อยู่ใน Hound Group

สรุปประวัติโดยย่อ: สุนัขพันธุ์
ไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์เก่า
พันธุ์หนึ่ง ซึ่งสามารถ พบเห็นได้
จากบันทึกโบราณที่เขียนใน
ประเทศไทย เมื่อราว 350 ปีมา
แล้ว  สุนัขพันธุ์นี้ถูกนำมาใช้ล่า
สัตว์โดยเฉพาะในเขตภาค
ตะวันออกของประเทศไทย  นอกจากนี้มันยังถูกนำมาใช้เป็นสุนัข
ตามเกวียนและเป็นสุนัขเฝ้าบ้านอีกด้วย  เหตุที่สุนัขพันธุ์นี้ยังรักษารูปลักษณ์เดิมของมันไว้ได้
เป็นเวลานานก็คือ  ระบบ คมนาคมในภาคตะวันออกของประทศไทยนั้นไม่ดี  ทำให้การผสม
ข้ามพันธุ์เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ลักษณะทั่วไป:   สุนัขขนาดกลาง มีขนสั้น มีอานซึ่งเกิดจากขนอยู่บนหลัง   ลำตัวยาวกว่า
ความสูงที่หัวไหล่เล็กน้อย  กล้ามเนื้อพัฒนาดี และโครงสร้างภายในทั่วไปเหมาะกับการ
เคลื่อนไหว

สัดส่วนที่สำคัญ   ความยาวของลำตัว ต่อ ขนาดความสูง (ที่ withers) = 11 ต่อ 10ความลึก
ของอก ต่อ ขนาดความสูง (ที่  withers) = 5 ต่อ 10      ความยาวของฃ่วงปาก ต่อ ความยาวของหัว = 2 ต่อ 3

พฤติกรรม/อารมณ์ :  อดทน และตื่นตัว ความสามารถในการกระโดดดีเยี่ยม

ส่วนหัว บริเวณกะโหลก:   ด้านบนของหัวมีลักษณะแบนและลาดลงเล็กน้อยสู่ดั้งจมูกดั้งจมูก: 
เห็นได้ชัดพอควร  การหักมุมไม่มากเกินไป (ค่อนข้างแบน และมีร่องเล็กน้อย)
บริเวณหน้า
ใบหน้า:  รูปลิ่ม
จมูก:     สีดำ
สันจมูก:  ตรงและยาว
ช่วงปาก:  สุนัขสีน้ำตาล (fawn)  อาจจะมีลักษณะปากมอม
ริมฝีปาก:  ปิดสนิท ริมฝีปากตึงไม่ห้อยย้อย
ปาก:  มีปานดำบนลิ้น
ขากรรไกร:  ขากรรไกรบนหน้าหนาพอควร และ ขากรรไกรล่างแข็งแรง
ฟัน:  ขาวและแข็งแรง ขบแบบกรรไกร
ตา:  ขนาดกลาง รูป almond (คล้ายผลสมอ)   ตาสีน้ำตาลเข้ม ในพวกสีสวาด อนุโลมให้ตามีสีน้ำตาลอมเหลืองได้
หู:  ตั้งอยู่ 2  ข้างด้านบนของหัว ทำให้หูอยู่ห่างกัน  หูเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดหูค่อนข้างใหญ่  ตั้งและเอียงไปด้านหน้าเล็กน้อย  ต้องไม่มีการตัดหู
คอ:  มีกล้ามเนื้อแข็งแรง  ชูหัวให้สูง

ลำตัว
หลัง:  แข็งแรง
เอว:  แข็งแรง และ กว้าง
บั้นท้าย:  มนปานกลาง
อก:  ลึกถึงข้อศอก  ซี่โครงโค้งได้รูป แต่ไม่ทำให้อกกลมรูปถัง
เส้นล่าง:  ท้องเว้าขึ้น
หาง:  โคนหางใหญ่แล้วค่อย ๆ เรียวสู่ปลาย  ปลายหางยาวถึงส้นเท้า (hockjoint) หางตั้งหรือ
โค้งคล้ายเคียว

ระยาง
ขาหน้า:  ขาหน้าตรง
ขาหลัง:  โคนขาใหญ่  เข่างอ ข้อขาหลัง (hock)   แข็งแรงเล็บสีดำ หรืออาจมีสีอ่อนจนเป็น
สีน้ำตาลการก้าวเดิน:   ก้าวเท้าโดยทำให้ลำตัวไม่กระเพื่อมมากหรือลำตัวเอียง ซ้าย- ขวา
เดินเป็นแนวขนาน 2 แนว  เมื่อมองจากด้านหน้าขาหน้าจะเคลื่อนขึ้นลงเป็นแนวตรงในลักษณะที่ไหล่  ข้อศอกและ ข้อขาหน้าเกือยอยู่ในแนวเดียวกัน  เมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นเข่าและข้อ สะโพกเกือบอยู่ในแนวเดียวกัน  เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นแนวตรง โดยเท้าไม่สะบัดเข้าหรือ
ออก   ช่วงการก้าวเท้ายาวมีแรงขับที่ดี   ลักษณะทั่วไปของสุนัขที่เคลื่อนที่นั้นจะเป็นไปอย่าง
นุ่มนวล  และมีจังหวะที่สมดุลย์ดีผิว:  อ่อนนุ่มและกระชับกับลำตัว

ขน
เส้นขน:   สั้นและเรียบ  อานเกิดจากเส้นขนที่เกิดขึ้นในแนวตรงข้ามกับเส้นขนปกติ   โดยอาน จะเริ่มบริเวณหัวไหล่ (withers)  อานอยู่หลัง withers แล้วยาวไปถึงบริเวณสะโพก  อานควรเห็นได้ชัดเรียวและสมดุลย์กันทั้ง 2 ข้างของลำตัว นิยมพวกที่มีอานแคบ
สี:  สีพื้น:  น้ำตาลแดง (ยิ่งเข้มยิ่งดี), ดำ, และสวาด*
ขนาด:  ความสูงที่หัวไหล่:  เพศผู้ 24-26 นิ้ว, เพศเมีย 22-24 นิ้ว**

ข้อบกพร่อง:   สิ่งที่ต่างไปจากลักษณะข้างต้นควรถือเป็น  ข้อบกพร่องและความร้ายแรงของข้อบกพร่องควรพิจารณาจากสัดส่วนความมากน้อยของข้อบกพร่องนั้น

การขบของฟันผิดไปจากการขบแบบกรรไกร
อานไม่สมดุล

ข้อบกพร่องชนิดไม่ตัดสิน:  สุนัขไม่มีอาน: ขนยาว, ฟันผิดปกติ,  ฟันซี่ที่สำคัญขาด หางงอม้วน,
ลูกอันฑะไม่มี, หูตกในกรณีที่สุนัขอายุเลย 6 เดือนไปแล้ว

* สีของสุนัขไทยที่ยื่นให้กับ FCI ยังไม่สมบูรณ์  ควรมีการปรับปรุงมาตรฐานพันธุ์ภายหลัง
** แต่ในปัจจุบัน สุนัขไทยในบ้านเราเพศผู้จะสูง 22-25 นิ้ว เพศเมีย 19-22 นิ้ว
หมายเหตุ:  สุนัขเพศผู้ควรมีลูกอัณฑะทั้งสองลูกอยู่ในถุงอัณฑะ

มาตรฐานพันธุ์ ที่กล่าวมาข้างต้น   คือข้อมูลซึ่งทาง DAT   (สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่ง
ประเทศไทย)ส่งให้ FCI  รับรอง และ FCI ได้ รับรองมาตรฐานพันธุ์สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน
เป็นสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งของโลก เมื่อวันที่ 28 ก.ค 2536  ตามมาตรฐาน FCI  หมายเลข 338/JUL.28,1993/GB  สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์เดียวของไทยในปัจจุบันนี้   ที่ได้รับ
การรับรองโดยนานาชาติดังนั้น   คนไทยทุกคนควรจะรักษาและพัฒนาสุนัขพันธุ์นี้ให้
คงอยู่ไว้ตลอดไป

DOG SHOW   ขอเพิ่มเติมความเป็นมาของการพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานเพื่อการประกวดดังต่อไปนี้

ในช่วงปี พ.ศ. 2510-2525   นับว่าเป็นช่วงแรกที่มีการคัดเลือกและพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยหลัง
อานเพื่อประกวด   ในสมัยนั้นเป็นการเลี้ยงกันอยู่ในวงแคบ ๆ  ผู้เลี้ยงและพัฒนาในช่วงนี้ ได้
แก่  คุณหลวงปริพนธ์  พจนพิสุทธิ์,  คุณมนตรี  จันทร์สว่าง,  คุณโกศล   เกษมศานต์  เป็นต้น
สุนัขไทยหลังอานที่มีชื่อเสียงได้แก่  ทองคำ, เข้ม,  และแดงน้อย เป็นต้น  ลูกสุนัขที่เกิดใหม่
ในช่วงนี้ยังไม่แน่นอน  อาจจะมีหลายสีในตัวเดียวกัน   ยุคนี้ถือว่าเป็นยุคกำเนิดในการเลี้ยง
และพัฒนาสายพันธุ์สุนัขไทยหลังอานโดยแท้

ช่วงปี พ.ศ. 2526-2530  เป็นยุคต่อเนื่องจากช่วงต้น  การเลี้ยวมีการกระจายแพร่หลายขึ้น
มีงานประกวดสุนัขไทยหลังอานมากขึ้น   ตลอดจนมีสุนัขรุ่นใหม่เกิดขึ้นผู้เลี้ยงและพัฒนาสุนัข
มากขึ้นตาม  การซื้อขายสุนัขก็มากขึ้นด้วย  ผู้พัฒนาสุนัขไทยหลังอานในช่วงนี้ได้แก่   พลตรีป รีดา, คุณนิติ  แซ่โล้ว, คุณขจรศักดิ์, คุณป้าสมคิด, ปัทมาฟาร์ม, คอกบางจาก,  คุณปราโมทย์, คุณธนู     สัมปัชชลิต,  พลตรีวัลลภ,  พลตรีอำนาจ,  คุณกำชัย,  คุณโซ่  เป็นต้น  สุนัขเด่นใน ยุคนี้ได้แก่   โปโล, สิงโต, หนิว, ขุนไกร, บราวน์,  ทองเค, ฟ้าลั่น, บิกบอส, ไม้, แรมโบ้ เป็นต้น ลูกสุนัขเกิดใหม่    ยังมีอัตราส่วนที่ไม่มีอานและมีหลายสีในตัวเดียวกันสูง

ช่วงปี 2531-2536   ยุคนี้  ถือว่าเป็นยุคทองของสุนัขพันธุ์ไทยโดยแท้  มีการซื้อขายสุนัขกัน
ค่อนข้างแพง เช่น สิบแสน ราคาสองแสนบาท,  กล้า  ราคาห้าแสนบาท   มาตรฐานของสุนัขดี
ขึ้นลูกสุนัขเกิดใหม่มีอานและสีเดียวในอัตราที่สูง งานประกวดสุนัขมีบ่อยขึ้น  มีงานประกวด
เฉพาะสุนัขพันธุ์ไทยหลายงาน  มีการจัดงานสัมนาและแนะนำการเลี้ยงและพัฒนาสุนัขพันธุ์
ไทยทั้งในกรุงเทพฯ  และต่างจังหวัด สุนัขเด่นในยุคนี้ ได้แก่ เพชรพญาไท, สิบแสน, บลู, ทองพันชั่ง,  ขุมทอง,ไมโล, กล้า, น้ำแดงท่าเรือ, ก้องธรณี, ไอย, ยอดเยี่ยม, ดีเด่น, เสือ, กิ่งทอง 
เป็นต้น   ผู้เลี้ยงและพัฒนาในยุคนี้ ได้แก่ สมาคมผู้ส่งเสริมสุนัขพันธุ์ไทย  ชมรมอนุรักษ์และ
พัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน , กลุ่มผู้เลี้ยง  และพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทยใน จังหวัด อยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, จันทบุรี,ตราด,ชลบุรี,  เพชรบุรี, สมุทรสาคร, คอกอัศวิน, คอกเกรียงไกร เป็นต้น  สุนัข
ในยุคนี้ส่วนมากยังมีนิสัยก้าวร้าว  หวาดระแวง  ควรมีการเลี้ยงและฝึกฝนเพื่อพัฒนาให้สุนัขมี
อุปนิสัยมีความพร้อมในสนามประกวดมากขึ้น

วันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2536 
นับเป็น
เกียรติประวัติอย่างสูง  
สำหรับวงการสุนัขพันธุ์
ไทยหลังอาน ในโอกาสที่
การสื่อสารแห่งประเทศ
ไทย   ได้นำภาพวาดของ
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน
สี่ตัว  พิมพ์บนแสตมป์สี่
ดวง จำหน่ายเป็นวันแรก  
เพื่อเป็นที่ระลึกในงาน
สัปดาห์สากลแห่งการ
เขียนจดหมาย ปีพุทธ-
ศักราช 2536  

แสตมป์เหล่านี้จะเป็นสื่อเผยแพร่สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน   ให้ชาวไทยและนานาชาติได้รู้จัก 

สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานที่การสื่อสารฯ  ให้เกียรติเป็นแบบภาพเหมือน ได้แก่
1. สุนัขเพศเมียสีกลีบบัว  ไม่ปรากฎชื่อ  และเจ้าของ
2. สุนัขเพศผู้สีดำ  ชื่อคุณห้า   ผสมพันธุ์ และเจ้าของ พลตรีอำนาจ  ชยสมานนท์
3. สุนัขเพศผู้สีแดง ชื่อทองเค  ไม่ปรากฎผู้ผสมพันธุ์ เจ้าของคอกบางจาก
4.  สุนัขเพศผู้สีวาด  ชื่อบลู    ผู้ผสมพันธุ์จ่าไพศาล  เจ้าของในอดีต  คุณนิติ  แซ่งโล้ว 
เจ้าของคนปัจจุบัน  คุณสมสิทธิ์  ลีฬหะสุวรรณ
 

นิตยสาร DOG  SHOW  ขอสดุดี  สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย   ที่ผลักดันให้
นานาชาติยอมรับสุนัขไทยหบังอานเป็นตสุนัขพันธุ์แท้   และการสื่อสารแห่งประเทศไทย 
ที่ให้เกียรติกับสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน และช่วยเผยแพร่อีกทางหนึ่ง  ตลอดจนผู้เลี้ยงและพัฒนา
สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานที่มีจิตใจบริสุทธิ ในการพัฒนาพันธุ์

บทความข้างต้น ข้าพเจ้าได้เขียนและพิมพ์ในนิตยสาร DOG SHOW เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2537 ท่านผู้อ่านที่มีความประสงค์จะร่วมเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานขอเชิญ
ส่ง email ที่ 
chay@pcmorgan.com

ท่านที่มีสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานสวยๆ กรุณาส่งรูปและข้อมูลมา จะได้แสดงที่ home-page ของ dogfriend ฟรี

Last update Jun. 30, 2000
This website will be updated every week

Copyright 1999    By  dogfriend.com  All Rights Reserved.

Link to our friend's website 
www.thaivet.org
www.thaifishmart.com